สำนักงานใหญ่
สำนักงานใหญ่
Direct Line
(+66) 2-960-0136-7 Fax: (+66) 2-960-0248 Mon - Fri 08:30 - 17:30
สำนักงานใหญ่
สำนักงานใหญ่
Direct Line
(+66) 2-960-0136-7 Fax: (+66) 2-960-0248 Mon - Fri 08:30 - 17:30
นำเข้าและจัดจำหน่าย
CNC Machines
ให้คำปรึกษาด้านเทคนิค
ด้วยทีมงานมากประสบการณ์
บริการหลังการขาย
ติดตั้ง อบรม ซ่อมแซม
สอบถาม | Inquiry

AAC : Autoclaved Aerated Concrete

เครื่องผลิตอิฐมวลเบา AAC : Autoclaved Aerated Concrete

เครื่องผลิตอิฐมวลเบา (AAC : Autoclaved Aerated Concrete)

เครื่องผลิตอิฐมวลเบา  (AAC : Autoclaved Aerated Concrete) หรือระบบการผลิตอิฐมวลเบาภายใต้ความดันสูง
(Autoclaved System)โดยการผลิตประเภทนี้จะใช้เครื่องอบในการไล่ความชื้นออกไปจากตัวก้อนอิฐ ทำให้อิฐมวลเบา
มีความแข็งแรง ทนทานเพิ่มมากขึ้น และยังส่งผลให้อิฐมวลเบา(Lightweight Concrete)มีการหดตัวน้อยลง
เมื่อมีการฉาบผนัง
ข้อดีของอิฐมวลเบา
– อิฐมวลเบารองรับแรงอัดได้สูง
– ลดต้นทุนในการก่อสร้างให้ถูกลง
–  ช่วยลดระยะเวลาการในการก่อสร้าง
– ไม่ดูดซับความร้อน ทำให้ประหยัดพลังงาน
   เมื่อใช้เครื่องปรับอากาศ

จากแนวโน้มการเติบโตทางด้านอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทั้งโครงการบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม หรือแม้กระทั่งการรีโนเวทอาคารบ้านเรือนและอาคารพาณิชย์ต่างๆ วัสดุก่อสร้างอาทิ อิฐบล็อก อิฐมอญ และอิฐมวลเบา นับเป็นวัสดุหลักที่ทางผู้ประกอบการหรือผู้รับเหมาตัดสินใจและประเมินต้นทุนเลือกเป็นอันดับแรกๆ ก่อนการดำเนินการธุรกิจต่อไปlightweight brick

ด้วยเหตุนี้ทางบริษัท กรุ๊ปวิศวภัณฑ์ จำกัด จึงเล็งเห็นความสำคัญในการส่งต่อระบบการผลิตอิฐมวลเบา (ACC) ที่มีคุณภาพสูงให้แก่ผู้ผลิตต้นน้ำ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีเพิ่มมากขึ้นและด้วยมาตราฐานระดับสากลจากประเทศจีน ทำให้เรามีความเชื่อมั่นว่าความร่วมมือกันระหว่าง 2  ประเทศ Group Engineering Products  จะทำให้ “ระบบการผลิตอิฐมวลเบา” ภายในประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันได้ ไม่ว่าจะทั้งในด้านของ การลดต้นทุนในการผลิต,การลดปัญหาด้านแรงงาน, การลดความสูญเสียของผลผลิตที่เสียหาย ร่วมถึงการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการผลิตอิฐมวลเบา

ขั้นตอนการผลิตอิฐมวลเบา (Production process of lightweight bricks) :

  1. ขั้นตอนการเตรียมและผสมวัตถุดิบ (AAC Raw Material Preparing and Pouring Mixer )
    ขั้นตอนการเตรียมและผสมวัตถุดิบ ระบบ Mixer

    🏭 เครื่องผสม AAC เป็นสิ่งที่สำคัญในการผลิตบล็อก/แผ่น AAC มีผลกระทบสำคัญต่อประสิทธิภาพการผลิต AAC, การประหยัดพลังงาน, และคุณภาพสินค้าที่สุด
    ⚙️ โรงงาน AAC ในตลาดส่วนมากมีระบบ Mixer ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการผสมวัสดุดิบต่างๆได้ แต่จำเป็นต้องใช้พลังงานสูงมากกว่า 75 kw ในขณะที่แบรนด์  KEDA SUREMAKER ได้มีการศึกษาลักษณะและข้อได้เปรียบของโครงสร้างการผสมและเลือกใช้โครงสร้างการผสมแบบ “double cross paddle & modular draft tube” เพื่อลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตและเพิ่มความเร็วในการผสมได้อย่างมาก

  2. ขั้นตอนการบ่มชิ้นงาน โดยการควบคุมอุณหภูมิและระยะเวลาให้เหมาะกับส่วนผสมที่ใช้
    ในขั้นตอนผงอลูมิเนียมจะทำปฏิกิริยากับผงหินปูน (Lime powder) และส่วนผสมอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดฟองอากาศและสร้างรูพรุนภายในเนื้อคอนกรีต ถือเป็นขั้นตอนที่ส่งผลต่อคุณภาพของอิฐมวลเบาโดยตรง คุณภาพและสัดส่วนของส่วนผสมที่ต่างกัน ก็ต้องใช้ระยะเวลาการบ่มที่ต่างกันไป ต้องทำการวิเคราะห์ส่วนผสมและปรับตั้งระยะเวลาการบ่มให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
    ขั้นตอนการบ่มอิฐมวลเบา3. ขั้นตอนการตัดให้ได้ขนาดอิฐมวลเบา (ACC cutting system) เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก มีผลกับคุณภาพงานที่จะได้ออกมา ด้วยเทคโนโลยีที่ดีของ KEDA SUREMAKER ทำให้งานเสียน้อยและยังตัดได้บางถึง 50 มม.โดยที่งานไม่เสีย จะแบ่งออกเป็น               
         3.1 เครื่องตัดอิฐมวลเบาแบบแนวนอน (Horizontal Cutting Machine) :
                 เป็นการตัดคอนกรีตให้ได้ความหนา ตามความต้องการ โดยใช้ลวดบาง 0.5 มม.
                 และเทคนิคการตัดแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นโดย KEDA SUREMAKER
    เครื่องตัดอิฐมวลเบาแบบแนวนอน (Horizontal Cutting Machine)      3.2 เครื่องตัดอิฐมวลเบาแบบแนวตั้ง (Vertical Cutting Machine)  : 
                  เป็นการตัดเพื่อให้ได้ความกว้างและความยาวตามต้องการ ตัดด้วยลวดที่
                  มีการส่ายไปมา เพื่อลดแรงที่กดลงบนชิ้นงาน ป้องกันไม่ให้อิฐแต่ละก้อนติดกันเอง

    เครื่องตัดอิฐมวลเบาแบบแนวตั้ง Vertical Cutting Machine

     4. ขั้นตอนอบอิฐมวลเบา (Autoclaved System) สำหรับขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอน การเสริมความแข็งแรงแก่อิฐมวลเบา โดยจะนำอิฐเข้าตู้อบแรงดัน เพื่ออบให้อิฐแข็งได้ความแข็งแรงตามต้องการ โดยควบคุมระยะเวลา ความชื้น และอุณหภูมิอย่างละเอียด โดยขั้นตอนนี้จะใช้ไอน้ำในการอบร่วมด้วย
    เครื่องอบอิฐมวลเบาด้วยไอน้ำ

    5. ขั้นตอนการจัดเก็บอิฐมวลเบาแบบอัตโนมัติ (AAC PACKING) : เนื่องจากความต้องการและบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทาง Keda สามารถออกแบบการบรรจุ AAC ที่แตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็นแบบมีพาเลทหรือไม่มีพาเลทก็ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มระบบบรรจุด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะเป็นตัวเลือกที่ยืดหยุ่น ซึ่งสามารถตั้งค่าเพื่อให้ตรงตามข้อกำหนดการบรรจุผลิตภัณฑ์ AAC ที่แตกต่างกัน หุ่นยนต์สามารถหนีบบล็อก AAC หลายชั้นที่ต้องการจากสายการบรรจุ และหมุนไปยังพาเลทเปล่าได้ การออกแบบขั้นสูงนี้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมาก

  3. ขั้นตอนการจัดเก็บอิฐมวลเบาแบบอัตโนมัติ (AAC PACKING)

🙏 หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  สามารถติดต่อเราได้ที่ ⬇ :
☎ Tel: 02-960-0136
✉E-mail: info@groupcor.com
🟩Line: @groupcor
🟥YouTube: @GroupEngineeringProduct

error: Content is protected !!